วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ผลงานการประดิษฐ์กล่องจากกระดาษเหลือใช้
ของฉัน





ผลงานการประดิษฐ์กล่องจากกระดาษเหลือใช้
ของนักเรียนชั้นมัธยมสึกษาปีที่ 2/1








 


วิธีการทำกล่อง


1. นำกระดาษเหลือใช้มาเตรียมไว้
2. นำกระดาษมาตัดครึ่ง
3. นำกระดาษที่ตัดไว้มาพันเป็นกลมกลม
4. นำกระดาษไปทากาว แล้วปะติดปะต่อเป็นรูปกล่อง
5. นำกล่องไปตกแต่งให้สวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ

ภูมิใจนำเสนอ

เรื่อง งานช่างในบ้าน


 

เด็กหญิงอฐิฏญา แดงดี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/1 

โรงเรียน ชุมชนบ้านโภชน์

 

 



 ความหมายและความสำคัญของงานช่าง
 
              งานช่าง  หมายถึง  การทำงาน  หรือสิ่งที่เกิดจากการทำงานของช่าง  ซึ่งมีหลายประเภทหลายสาขา  ผู้เป็นช่างจึงมักมีคำต่อท้าย  เพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ  เช่น  ช่างไฟฟ้า  ช่างประปา  ช่างไม้  ช่างปูน  ช่างโลหะ  ช่างเขียน  ช่างผม  ช่างเสริมสวย  เป็นต้น
                ช่างที่ดีนอกจากจะมีความรู้ในงานของตนแล้ว  ยังต้องมีฝีมือหรือศิลปะในการทำงานด้วย  ความรู้เกี่ยวกับงานช่างอาจได้จากการบอกเล่าสืบต่อกันมา  หรือจากการศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม  ประสบการณ์ในการทำงานของช่าง  นอกจากจะสร้างเสริมความรู้ของช่างแล้ว  ยังช่วยให้มีความชำนาญในฝีมือการทำงาน
                งานช่างพื้นฐาน  หมายถึง  งานช่างเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง  งานช่างพื้นฐานส่วนใหญ่จึงเป็นงานเกี่ยวกับงานซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่ชำรุดเสียหาย        เล็ก ๆ น้อย ๆ  หรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนนัก  เช่น  การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน  การเดินสายโทรศัพท์  การเปลี่ยนก๊อกน้ำ  การต่อท่อประปา  การซ่อมแซมโต๊ะ  เก้าอี้  รั้ว  กันสาด  ผนังและถนนหรือทางเดินเท้าภายในบ้าน  เป็นต้น


ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน


             ประโยชน์โดยตรง  ที่เห็นได้ชัดเจนคือการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานช่างเป็นการประหยัด    ทั้งค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ้างช่างอาชีพแล้วยังประหยัดเวลา  ไม่ต้องเสียเวลารอคอยว่าจะหาช่างอาชีพได้  หรือแม้ว่าจะต้องว่าจ้างช่างอาชีพก็สามารถควบคุมดูแลการทำงาน  ผลงาน  ไม่ให้ช่างเอารัดเอาเปรียบได้
              ประโยชน์โดยอ้อม  เช่น  การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  การซ่อมหรือสร้างสิ่งของเครื่องใช้ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน  สนุกสนานในการทำงานเช่นเดียวกับการทำงานอดิเรกอื่น  ๆ นอกจากนั้นจากผลของการทำงาน  ยังทำให้เกิดความรู้ความชำนาญ  สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ ช่างอาชีพได้  แม้ไม่ต้องทำเป็นอาชีพโดยตรง  ก็อาจทำเป็นอาชีพเสริม  เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี


การทำกรอบรูปจากกระดาษแข็ง

วัสดุอุปกรณ์
  1. กระดาษแข็ง
  2. กาว
  3. กรรไกร หรือ คัตเตอร์
  4. กระดาษใส
  5. ของที่จะนำมาตกแต่ง



วิธีการกรอบรูป
1.             ตัดกระดาษลังขนาด 5×4 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น
2.             นำ 1 แผ่น มาลอก แผ่นด้านบนออกให้เกิดเป็นรูปรอยคลื่น
3.             จากนั้นนำแผ่นที่เป็นรูปคลื่น มาวัดจากด้านนอกเข้าไปด้านในขนาด 3ซ.ม.×2ซ.ม. ตัดด้านในทิ้ง
4.             นำแผ่นใสไปติดไว้ข้างหลังกระดาษที่เป็นรูปคลื่น
5.             ตกแต่งข้างหน้าด้วยไม้ไอติม
6.             ตัดผ้าสักราชเป็นรูปต่างๆ มาประดับตกแต่งให้สวยงาม
7.             ตัดกระดาษลัง ขนาด 1×4 นิ้ว จำนวน 3 อัน และ
8.             นำไปติดไว้ข้างหลังแผ่นใสข้างละ 1 อัน และข้างล่างอีก 1 อัน
9.             จากนั้นนำกระดาษลังขนาด 5×4 นิ้ว อีกหนึ่งแผ่นไปปิดไว้ด้านหลังสุด ก็จะได้ตัวกรอบรูปที่สวยงาม
  ขั้นตอนการทำที่ตั้ง
1.             ตัดกระดาษลังขนาด 1×6 นิ้ว
2.             นำมางอให้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ประกบให้ติดกันด้วยกาวสองหน้า
3.             นำด้านที่ตั้งฉากติดเข้ากับตัวกรอบรูป เพียงแค่นี้กรอบรูปก็จะเสร็จค่ะ                           
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             นำไปใส่รูปตัวเอง และรูปเพื่อนๆได้ค่ะ
2.             ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกรอบรูปของตัวเอง
3.           รู้จักนำสิ่งของที่เหลือใช้มารีไซเคิล นอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังทำให้ขยะลดลงด้วย โดยเฉพาะกระดาษเป็นสิ่งหนึ่งที่รีไซเคิลยากพอสมควร ถ้าเรานำมาทำเป็นของใช้ที่มีประโยชน์ เราก็จะช่วยโลกได้ทางหนึ่งค่ะ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555




ผลงานของ ม.2/1


ผลงานของฉัน



 

การแกะสลัก
                    
                     เป็นการแกะสลัก โดยนำแตกกวามาแกะสลักเป็นรูปใบไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม และเพิ่มความน่ารับประทาน แถมยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันงดงามอีกด้วย
                    
                     เป็นการแกะสลัก โดยนำมะเขือมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม และเพิ่มความน่ารับประทาน แถมยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันงดงามอีกด้วย

ผลงาน อฐิฏญา แดงดี

ด.ญ.อฐิฏญา แดงดี   (อ๋อม)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
โรงเรียนชุมชนบ้านโภชน์