วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บรรยากาศในห้องเรียน



           มาดูบรรยากาศในห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  กันนะค่ะ































วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


รายงานเรื่อง
ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น    ประเพณีลอยกระทงสาย


กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
จัดทำโดย 
ด.ญ.อฐิฏญา   แดงดี
โรงเรียน  ชุมชนบ้านโภชน์   อ.หนองไผ่   สพป.เพชรบูรณ์  เขต3
เสนอ
ครู   กัญจนา   มีศิริ    


คำนำ
รายงานเรื่อง  ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น    ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีทักษะในการค้นหาข้อมูลและการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมจริยธรรมโดยจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานและเผยแพร่ความรุ้ทางเว็บไซต์ตนเอง ชื่อhttp://oomlo.blogspot.com/    
ขอขอบคุณ  ครู   กัญจนา   มีศิริ     ผู้ให้ความรู้ในการเรียนรู้













สารบัญ
เรื่อง                                                                                                หน้า
ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น    ประเพณีลอยกระทงสาย                  1
สรุป                                                                                                  10
แหล่งข้อมูล                                                                                                10











1
 


ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น    ประเพณีลอยกระทงสาย
ประเพณีลอยกระทงสาย
           ประเพณีลอยกระทงสาย เป็นประเพณีของชาวจังหวัดตาก ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ คือกระทงสาย ทำมาจากกะลามะพร้าว การที่ใช้กะลามะพร้าวอาจเป็นเพราะคนไทยใช้มะพร้าวในการประกอบอาหารอยู่เสมอและชาวเมืองตากชอบทานเมี่ยงและเป็นสินค้าพื้นเมือง ดังนั้นหลังจากที่ใช้มะพร้าวมาประกอบอาหารแล้ว ก็ทิ้งกะลาไว้บริเวณบ้านเป็นจำนวนมากจึงได้นำกะลามะพร้าวมาประยุกต์ใช้ในการลอยกระทงแทนหยวกกล้วยใบตอง โดยนำกะลามาตกแต่งและใส่ขี้ไต้หรือใช้ด้ายฟั่นเป็นไส้เชื้อเพลิง
     ประเพณีลอยกระทงสายนั้นเป็นการขอขมาและบูชาแม่คงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ จัดในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งชาวตากได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ประเพณีนี้ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน
 

    ในวันงาน ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ นำกระทงสายมายังริมฝั่งแม่น้ำปิง และจะทำพิธีบูชาแม่คงคาขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลบูชารอยพระพุทธบาทและอธิษฐานขอพรและปลดปล่อยทุกข์โศกให้ลอยไปกับสายน้ำ หลังจากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะจับสลากว่าหมู่บ้านใครจะได้เป็นผู้ปล่อยกระทงสายก่อน ผู้ที่จับสลากได้ก่อน ก็จะนำชาวบ้านในหมู่บ้านให้นำกระทงสายไปไว้ในเรือและในเรือจะมีคนอยู่ 3-4 คน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่เรียงกะลามะพร้าว จุดไฟและนำกะลาที่จุดไฟแล้ววางลงแม่น้ำ ซึ่งจะต้องให้มีระยะห่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสวยงามเหมือนกับการนำกะลามาผูกเรียงติดกัน และหมู่บ้านที่สามารถลอยกะลาได้เป็นสายสวยงามมากที่สุด ใช้เวลาได้ตามกำหนดก็จะเป็นผู้ชนะ


2
 








ช่วงเวลา
วันเพ็ญเดือนสิบสอง

ความสำคัญ
พื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

สาระ
ารลอยกระทงสายเป็นประเพณีที่เป็นแบบเฉพาะของชาวตาก ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แสดงถึงความสามัคคีและความเป็นมิตรไมตรีของชาวบ้านในชุมชนนั้น



3
 



พิธีกรรม

ก่อนถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองชาวบ้านจะเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้


       ๑. แพผ้าป่าน้ำ ทำจากต้นกล้วยมาตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้ธูปเทียน ธงหลากสี ใส่หมากพลู บุหรี่ ขนม ผลไม้ เศษสตางค์ เพื่อเป็นทานสำหรับคนยากจนที่เก็บแพผ้าป่าน้ำได้
       ๒. กระทงสาย แต่เดิมตัวกระทงสายจะทำจากใบพลับพลึงอ่อนสีขาว เย็บเป็นรูปกระทง ไส้กระทงจะทำด้วยเชือกฝั้น และใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นเชื้อไฟ ปัจจุบันจะใช้กะลามะพร้าว ซึ่งต้องใช้เป็นจำนวนมากนับหมื่นใบ มีไส้กระทงเป็นเทียนหล่อในกะลา มีเชือกฝั้นเป็นไส้หรือจะใช้ขี้ไต้ก็ได้
เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ แต่งตัวกันสวยงามร่ายรำกันเป็นขบวนนำกระทงสายมายังท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อมาถึงพร้อมกันก็จะทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาแม่คงคาขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ รำลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้า และสุดท้ายอธิษฐานเพื่อลอยทุกข์โศก โรคบาปให้ตัวเองและครอบครัวแล้วทำการปล่อยแพผ้าป่าน้ำ
หลังจากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะจับสลากว่า ใครจะเป็นผู้ปล่อยกระทงสายก่อน หมู่บ้านใดได้ลอยก่อน ก็จะพากันแบกอุปกรณ์ไปบริเวณที่จะปล่อยกระทง สมาชิกจะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือและจะต้องทำงานประสานกัน คือ คนหนึ่งเตรียมกะลามะพร้าวนำขี้ไต้วางในกะลาส่งให้ผู้จุดไฟ ส่งให้ผู้ปล่อยกะลาลงในน้ำ ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการปล่อยกะลามะพร้าวลงแม่น้ำให้เป็นระยะ ๆ ให้ห่างเท่ากันโดยสม่ำเสมอ กะลามะพร้าวก็จะลอยเป็นสายไปในแม่น้ำปิง ส่องแสงระยิบระยับสวยงาม และหากหมู่บ้านใดลอยได้ระยะสม่ำเสมอสวยงาม แสงไฟไม่ดับตลอดไป ซึ่งมีระยะห่างจนสุดสายตา ก็จะเป็นผู้ชนะสำหรับปีนั้น และขณะที่สมาชิกส่วนหนึ่งปล่อยกระทง ที่เหลือก็จะเป็นกองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์ตีกลองร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน

สาระ
ารลอยกระทงสายเป็นประเพณีที่เป็นแบบเฉพาะของชาวตาก ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แสดงถึงความสามัคคีและความเป็นมิตรไมตรีของชาวบ้านในชุมชนนั                                                                        

4
 

    






  ที่มาของภาพ                                                                                                                                                                                                                     http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138627


        จังหวัดตากนอกจากประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นทั่วไปแล้ว ยังมีการลอยกระทงสายที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มแรกของประเพณีเกิดขึ้นที่อำเภอบ้านตากและเป็นรูปแบบในการจัดประเพณีลอยกระทงสายในอำเภอใกล้เคียง ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงสายได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่จัดงานในระดับจังหวัด และถือได้ว่าเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก และเป็นที่ยินดีกับชาวจังหวัดตากอย่างยิ่งที่การต้อนรับผู้นำ เอเปค 21 ประเทศในการลอยกระทงสายของจังหวัดตาก และการลอยโคมของจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมแสดงในราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ทำให้ประเพณีลอยกระทงสายของจังหวัดตากเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศและขยายไประดับโลก
     การลอยกระทงสายนี้ มีการพัฒนาการคิดมาจากประเพณีการลอยกระทง เป็นสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความพร้อมด้วยปัจจัยวัสดุธรรมชาติ คือกะลามะพร้าว ซึ่งมะพร้าวมีมากในภูมิภาคนี้ ซึ่งเห็นได้จากอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดตากที่มีส่วนประกอบของมะพร้าวเป็นสำคัญ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ ไส้เมี่ยง เมี่ยงคำ เป็นต้น จากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ปัจจัยเอื้อ


5
 



ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผนวกกับการมีนิสัยที่รักสนุกสนานรื่นเริง จึงเกิดประเพณีลอยกระทงสายขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น


      การจัดประเพณีลอยกระทงสายแต่เดิมเริ่มที่อำเภอบ้านตากนั้น จะตรงกับช่วงวันเพ็ญ 15 ต่ำของทุกปี หลังจากที่จัดงานลอยกระทงเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการจัดลอยกระทงสายจึงจัดกันใน แรม 11 ค่ำ มีกิจกรรมที่สำคัญคือ ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ตอนบ่ายจะมีการแข่งเรือของแต่ละหมู่บ้าน ส่วนในช่วงตอนเย็นจะมีการจุดประทีปที่บ้านและลอยกระทงของแต่ละคน ส่วนในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตอนพลบค่ำ พระสงฆ์และชาวบ้านมาสวดมนต์และปล่อยโคมลอย เมื่อเสร็จพิธีจึงมีการปล่อยกระทงสาย
การลอยกระทงสายนั้นประกอบด้วย 3 ประเภทด้วยกัน คือ กระทงนำ กระทงตาม และกระทงปิดท้าย
    
     กระทงนำ จะประดิดประดอยอย่างสวยงามบนแพหยวกกล้วย ตัวกระทงจะทำด้วยใบตองหรือจากวัสดุธรรมชาติ และจะลอยเป็นอันดับแรก
    กระทงตาม จะมีส่วนประกอบด้วยตัวกระทงและไส้กระทง ตัวกระทงจะทำด้วยกะลามะพร้าวแห้งที่ไม่มีรู ส่วนไส้กระทงมีหลากหลายชนิด เช่น ขี้ไต้ แกนข้าวโพดหรือซางข้าวโพด กาบ(เปลือก)มะพร้าว ตีนกา ผ้าชุบน้ำมัน เป็นต้น



                   

                  
6
กระทงปิดท้าย จะมีลักษณะคล้ายกระทงนำ แต่เล็กกว่าและลอยหลังจากที่ลอยกระทงตาม(กะลามะพร้าว)เรียบร้อยแล้ว

จากลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบ้านตาก และจังหวัดที่ใกล้ชิดกับแม่น้ำมีการพัฒนาบ้านเมืองมานานแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และการตั้งแหล่งถิ่นฐานของชุมชนของคนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ จากสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นปัจจัยเอื้อผนวกกับความสามารถในภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเกิดเป็นประเพณีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อนสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกันในหมู่คณะที่มีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน
ที่มาของภาพ
https://www.google.co.th/search?q


                                                        





7
 




ที่มาของภาพ    UpYim.com


ประติมากรรมกระทงสาย เมืองตาก, ตาก
ประติมากรรมกระทงสายเมืองตาก จ. ตาก ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 เป็นสวนสาธารณะที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วันนี้ทาง UpYim.com นำข้อมูล ประติมากรรมกระทงสาย    พร้อมภาพมาให้ดูกันค่ะ
ที่มาของภาพ    UpYim.com





8
    

 ประติมากรรมกระทงสาย ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 เป็นสวนสาธารณะที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ งานประเพณี ลอยกระทงสาย ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาว เมืองตาก มีความภาคภูมิใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะที่หาชมได้แห่งเดียวในประเทศไทย  ประติมากรรม กระทงสาย ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 เป็นสวนสาธารณะที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ งานประเพณีลอยกระทงสาย ซึ่ง







ที่มาของภาพ











9
 













    ประติมากรรมกระทงสายเป็นประเพณีที่ชาวเมืองตากมีค วามภาคภูมิใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะที่หาชมได้แห่งเดียวในประเทศไทย
ที่มาของภาพ  http://travel.upyim.com/



10
 



แหล่งที่มา
3.            https://www.google.co.th/search?q
4.            UpYim.com
5.            http://travel.upyim.com/2011/10/08/
6.            http://www.google.co.th/imgres?hl
7.            https://mail.google.com/mail/?hl=th&shva=1#inbox
8.            http://www.google.co.th/imgres?h
9.            http://www.google.co.th/imgres?hl=
10.    http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa93